ดาวเทียมสปุตนิก 1 : ความสำเร็จในการแข่งขันทางอวกาศของสหภาพโซเวียต
สงครามเย็น(Cold War) เป็นสงครามระหว่างกลุ่มประเทศที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบอบการเมืองที่แตกต่างกัน 2 กลุ่ม ระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยกับระบอบคอมมิวนิสต์ นั่นคือ สหรัฐอเมิรกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งนอกจากการแข่งขันกันการสร้าง พัฒนาและสะสมอาวุธหรือการทำสงครมตัวแทนแล้วนั้น การแข่งขันการเดินทางนอกโลก สำรวจอวกาศ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งการแข่งขันที่สำคัญ และทำให้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น นั่นคือ การส่ง "ดาวเทียมสปุตนิก 1 " ขึ้นสู่วงโคจรโลกได้สำเร็จของสหภาพโซเวียต
แบบจำลองดาวเทียมสปุตนิก 1 สปุตนิก 1 (Sputnik 1) เป็นดาวเทียมเป็นดวงแรกของโลกที่สามารถขึ้นสู่วงโคจรในรูปวงรีได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอวกาศของสหภาพโซเวียต ชื่อของ "สปุตนิก" หมายถึง เพื่อนหรือผู้ร่วมเดินทางโดยสปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมทรงกลม สร้างด้วยโลหะขัดมัน ผู้ผลิตดาวเทียมสปุตนิก 1 คือ OKB-1, Soviet Ministry of Radiotechnical Industry ถูกสร้างโดยเซียร์เกย์ ปัฟโลวิช โคโรเลฟ (Sergei Pavlovich Korolev) วิศวกรผู้พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของสหภาพโซเวียต ปัจจุบันโคโรเลฟ ผู้ออกแบบดาวเทียมดวงนี้ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งโครงการอวกาศของรัสเซีย”
สปุตนิก 1 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 58 ซม. (23 นิ้ว) พร้อมกับเสาอากาศวิทยุภาวยอก 4 เสา เพื่อกระจายคลื่นวิทยุ และถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกจากฐานจรวดไบโคนัวร์ คอสโมโดรม ไซต์หมายเลข 1/5 ที่สนามทดลองวิทยาศาสตร์ชองกระทรวงกลาโหมโซเวียตที่ 5 ที่เมืองเตียราตามของอดีตสหภาพโซเวียต (ประเทศคาซัคสถานในปัจจุบัน)
ที่มา : https://kku.world/4ohvu
ดาวเทียมเดินทางด้วยความเร็วสูงสุดประมาณ 29,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (18,000 ไมล์/ชั่วโมงหรือ 8 กม./วินาที) โดยใช้เวลา 96.20 นาทีในการโคจรแต่ละรอบ มันส่งสัญญาณวิทยุที่คลื่นความถี่ 20.0005 และ 40.002 MHz ซึ่งถูกเฝ้าติดตามจากสถานีวิทยุทั่วโลก สัญญาถูกส่งออกมาเป็นเวลา 21 วัน จนกระทั่งแบตเตอรี่เครื่องส่งสัญญาณหมดลงในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1957 ดาวเทียมสปุตนิกสามารถโคจรรอบโลกเป็นวงรีในระดับต่ำได้เป็นเวลานานถึง 3 สัปดาห์ ก่อนที่แบตเตอรี่จะหมด และโคจรเงียบ ๆ รอบโลกอีกเป็นเวลา 2 เดือน ก่อนจะถูกเผาไหม้ขณะตกลงสู่ชั้นบรรยากาศในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1958 หลังจากที่โคจรรอบโลกนาน 3 เดือน หรือ 1,440 รอบ คิดเป็นระยะทางรวมประมาณ และระยะทางเดินทางประมาณ 70 ล้านกิโลเมตร
การติดตามและศึกษาดาวเทียมสปุตนิก 1 ของโลก ทำให้สร้างข้อมูลที่มีคุณค่าแก่นักวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น ความหนาแน่นของบรรยากาศชั้นบน ซึ่งสามารถสรุปได้จากการลากวงและจากการแพร่กระจายของสัญญาวิทยุของดาวเทียมสปุตนิก 1 ก็สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวก้บชั้นบรรยากาศไอโอเนสเฟียร์แก่นักวิทยาศาสตร์ได้เช่นกัน
ความสำเร็จในการส่งดาวเทียมสปุตนิกขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกได้ถือเป็นวัตถุแรกที่มนุษย์สร้างขึ้นชิ้นแรกที่ได้เดินทางออกนอกโลก และถือเป็นการตอกย้ำชัยชนะของสหภาพโซเวียตระหว่างการชิงชัยในการเป็นเจ้าอวกาศในช่วงสงครามเย็นกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะนำไปสู่การส่งสุนัขออกสู่อวกาศ รวมไปถึงการส่งมนุษย์คนแรกออกสู่อวกาศได้ นอกจากยังนี้ยังเป็นการพัฒนาวงการการสำรวจอวกาศของโลกให้เกิดการพัฒนาและเกิดการสำรวจที่เกิดประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติได้อีกต่อไป
อ้างอิง
วิกิพีเดีย. (2565). ดาวเทียมสปุตนิก 1. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565,
MGR Online. (2550). สปุตนิก : ปญมบทแห่งยุคอวกาศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565,
จาก https://mgronline.com/science/detail/9500000115104
Nation online. (2564). 4 ตุลาคม 2500 - ดาวเทียมสปุตนิก 1 เขย่าสหรัฐ.
สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565, จาก https://www.nationtv.tv/news/378843820
Real metro. (2563). วิศวกรผู้พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของสหภาพโซเวียต #ดาวเทียมสปุตนิก 1
ดาวเทียมดวงแรกของโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565,
Comments
Post a Comment